วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

++Phra That Phanom

 พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม







พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์สำคัญของภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ชาวไทยในภาคอีสาน ตลอดจนบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนใกล้เคียง เรียก "พระเจดีย์" ว่า "พระธาตุ" เช่น พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเรณู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนม พระธาตุเหล่านี้ สร้างเป็นพระเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ฐานขึ้นไป และพระธาตุพนม มีอายุเก่าแก่และงดงามกว่าพระธาตุองค์อื่น ๆ

         

พระธาตุพนม ประดิษฐานในวัดพระธาตุพนม ซึ่งมีทำเลเป็นโคกสูงกว่าบริเวณเดียวกัน เรียกว่า "ภูกำพร้า" บางแห่งเรียกว่า "ภูก่ำพร้า"  ในเขตอำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม หน้าวัดมีซุ้มประตูใหญ่ 1 แห่ง และประตูเล็ก 2 แห่ง บนประตูมีรูปโทณพราหมณ์ กำลังตวงพระบรมธาตุด้วยทะนานทอง  เมื่อเข้าไปภายในวัดจะถึงพระอุโบสถ และวิหารคต จึงถึงองค์พระธาตุพนมจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย    

  

พระธาตุพนมองค์นี้ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง  แต่ในตำนานแห่งพระธาตุพนม กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคละ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร  พระยาจุลนีพรหมทัต  พระยานันทเสน ช่วยกันสร้างขึ้น ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปเถระ เมื่อ พ.ศ. 8 และในตำนานเล่มเดียวกันนี้ได้เล่าถึงวิธีการสร้างไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมได้ก่อขึ้นด้วยแผ่นอิฐดินดิบ  และอนุญาตให้ชาวบ้านนำข้าวของเงินทอง มาบรรจุไว้ภายใน แล้วสุมไฟเผาทั้ง 4 ด้าน เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พออิฐสุกและเย็นลงดีแล้ว ก็ได้นำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ภายใน

  ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีหลายท่าน ลงความเห็นใกล้เคียงกันว่า พระธาตุพนมได้สร้าง เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และสร้างด้วยอิฐเผา ไม่อิฐดิบสลัีกเป็นลวดลายวิจิตรพิสดาร การก่อสร้างประณีตสวยงาม ได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ และทางบ้านเมืองของไทยเสมอมา ชาวท้องถิ่นเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ทุกคนช่วยกันรักษาดูแลอย่างดีที่สุด องค์พระธาตุพนมสูง 52 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11.25 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม

ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีหลายท่าน ลงความเห็นใกล้เคียงกันว่า พรธาตุพนมได้สร้าง เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และสร้างด้วยอิฐเผา ไม่อิฐดิบสลัีกเป็นลวดลายวิจิตรพิสดาร การก่อสร้างประณีตสวยงาม ได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ และทางบ้านเมืองของไทยเสมอมา ชาวท้องถิ่นเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ทุกคนช่วยกันรักษาดูแลอย่างดีที่สุด องค์พระธาตุพนมสูง 52 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11.25 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม
งานไหว้พระธาตุพนม ระหว่างวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 รวม 7 วัน 7 คืน มีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวลาว เดินทางไปร่วมงานบุญนี้อย่างเนืองแน่น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงถวายดอกไม้เงินทองมาเป็นพุทธบูชาทุกรัชกาล





เกี่ยวกับพระธาตุุพนม





พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้นำในการบูรณะพระธาตุพนมในครั้งนั้น 
ไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะโอกาสที่ท่านผู้อ่านจะไปค้นหาประวัติเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก





การบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล 
หรือ พระครูดีโลด เป็นการบูรณะครั้งที่ ๕ โดย “ได้เริ่มบูรณะแต่
เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ



บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม หลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ก็ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (การบูรณะครั้งที่ ๕)



สมัยผ่านมาถึงกึ่งพุทธกาล ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2500 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา 
ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณตีสอง มีฝนตกหนักมากในตัวอำเภอธาตุพนม 



พระยานครพิชิตธานี พร้อมด้วยท้าวพระยาในท้องถิ่นได้บูรณะพระธาตุพนม 
และสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุ รวมทั้งสร้างถาวรวัตถุอื่นๆ อีกด้วย 
ตอนท้ายได้สาปแช่งผู้ถือสิทธิ์ครอบครอง ทำลายทานวัตถุ



ประติมากรรมรูปสิงห์หรืออัจจมุขี พบที่วัดพระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า
 ได้สร้างรูปอัจจมุขีขึ้นไว้สองตัว อยู่ที่มุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่งตัว



เสาอินทขีล ทำจากหินทราย ตามตำนานพระธาตุพนมกล่าวว่า พญาทั้งห้าผู้สร้างพระธาตุพนมในยุคแรก ได้ให้คนไปนมาจากที่ต่าง ๆ รวมกันสี่ต้น แล้วฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุทั้งสี่มุม



พระธาตุพนมเป็นสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
 ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร



พระธาตุพนมจำลอง



พิธีถวายข้าวพืชภาคและค่าเสียหัว



อภินิหารแห่งองค์พระธาตุพนม



พยานาคราชผู้พิทักษ์พระธาตุพนม



สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน