วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

++ตลาดคลองสวนร้อยปี

เดินเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี  จังหวัดฉะเชิงเทรา



ตลาดคลองสวน 100 ปี เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ในอดีตคลองสวนเป็นเส้นทางสำหรับเดินทางไปกรุงเทพมหานคร จากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) แล่นผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวคลองสวนทั้งชาวไทยจีน ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม วัฒนธรรมผสมผสาน การดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้าง เช่น โรงเจ วัด สุเหร่า จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และตลาดแห่งนี้จะเป็นแหล่งนัดพบของผู้คนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติอันได้แก่ ร้านกาแฟ สำหรับผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศของวิถีชีวิตร่วมสมัยย้อนยุคกว่า 100 ปี ชิมอาหารอร่อยทั้งอาหารคาวที่มีสูตรเฉพาะ ขนมหวาน กาแฟสูตรโบราณดั้งเดิม ชมของเก่าและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า สามารถแวะชมได้ที่ตลาดคลองสวน 100 ปีแห่งนี้แห่งเดียว 


จากลานจอดรถเดินเข้าสู่ประตูตลาดคลองสวน 100 ปี เมื่อจอดรถเสร็จสรรพจะเริ่มเดินเข้าสู่ตลาดจะเห็นด้านบนของทางเข้าเขียนชื่อตลาดไว้ จากจุดนี้จะเป็นทางเดินยาวตลอดถึงกันหมด ด้วยเส้นทางเดียว และทางเดินจะอยู่ริมคลองโดยตลอด



 รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นปี ๒๕๔๗ 
รางวัลนี้ถูกติดประดับไว้ตรงทางเดินที่เห็นได้ชัดของตลาดคลองสวน 100 ปี




เดินมาถึงท่าเรือหาเต่าปล่อยตามความเชื่อ เนื่องมาจากเป็นวันคล้ายวันเกิดคุณ poomie สมาชิกเหนียวแน่นของทัวร์ออนไทย วันนี้เลือกหาเต่ามาปล่อยเป็นสิริมงคลกัน



ปล่อยเต่าปล่อยหอย ที่ท่าอัศวานิชย์ มีทางลงไปริมน้ำทำให้สามารถปล่อยเต่าได้สะดวก ตรงนี้มีผู้นำเต่าและหอยมาขายเป็นประจำ



 หัวมุมทางเดินถึงตรงนี้มีทางเดินต่อไปด้านขวามือ 



พิธีพระราชทานรางวัล รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งตลาดคลองสวน 100 ปีได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี ๒๕๔๗ โดยมีนายสุธีร์ อัศวานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองสวนเป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗










 ภาพตลาดคลองสวนในอดีต ติดไว้ที่บริวเณเดียวกันกับภาพพิธีพระราชทานรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น




ทานอาหารในเรือเพิ่มบรรยากาศ ตรงทางเข้าสู่ตลาดคลองสวน มีอาหารมากมายบริการและทุกร้านสามารถนำอาหารที่ซื้อมาทานในเรือที่จัดไว้ให้ลำนี้ได้เหมือนกันหมด ได้อรรถรสในการกินดีครับ


  ตุ๊กตาสีสันสดใส หนึ่งในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ที่นำมาวางขายในตลาดคลองสวนแห่งนี้




ทางเดินอันยาวไกลในตลาดคลองสวน ตามความรู้สึกของนักเที่ยวตลาดน้ำและตลาดโบราณของทีมงานทัวร์ออนไทย บอกได้เลยว่าตลาดคลองสวน 100 ปีแห่งนี้ยาวไม่เป็นรองใครแน่ๆ ผมไปหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยเดินจนสุดทางสักครั้งครับ




 ผลหมากรากไม้ นอกจากจะมีสินค้าที่ระลึกหรือของใช้วางจำหน่าย 
เรื่องของกินปละผลไม้ก็มีไว้บริการเช่นกัน




ประชาสัมพันธ์ตลาดคลองสวน 100 ปี จุดนี้เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งนอกจากจะมีไว้บริการประชาสัมพันธ์ประกาศต่างๆ หรือประกาศหาเด็กหายคนหลงแล้ว ยังมีของเก่าๆ ไว้แสดงให้นักท่องเที่ยวได้ลำรึกอดีตกันมากมายหลายอย่าง




  ตู้แสดงบุหรี่เก่า แต่ละยี่ห้อแทบจะไม่เคยเห็นกันทั้งนั้น




ภาพในร้านกาแฟแป๊ะหลี ภาพเหล่านี้แสดงไว้ในร้านกาแฟเล็กๆ ซึ่งบ่งบอกว่าแป๊ะหลีได้ลงนิตยสารและข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ มากมาย และมีภาพที่นิตยสารที่นี่ 8 ริ้ว มอบไว้ให้ด้วย




 สมุดเยี่ยมแป๊ะหลี แป๊ะหลีกำลังเปิดให้ชมสมุดเยี่ยมกองโตที่มีคนมาเขียนไว้
 ปัจจุบันนี้สมุดเยี่ยมแป๊ะหลี มี 62 เล่มแล้ว




ประโยชน์ของกาแฟ ภาพแป๊ะหลีกับข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ด้วยเหตุนี้กาแฟแป๊ะหลี จึงเป็นร้านกาแฟที่ดังที่สุดในตลาดคลองสวน 100 ปีก็ว่าได้ เมื่ออดีตตลาดคลองสวนเป็นจุดแวะพักและเป็นศูนย์รวมของชุมชน จุดแลกเปลี่ยนสินค้าและเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญและสะดวกที่สุด หากมีงานกุศล เช่น การขุดคลอง ทำถนน ต่างก็จะมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสาธารณูปโภคร่วมกัน จุดพบปะนั่นคือร้านกาแฟ ทุกคนแม้ต่างศาสนาก็สามารถเข้ามาที่จุดนัดพบแห่งนี้ได้ มาแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์การดำเนินชีวิต พูดคุยเรื่องข่าวสารเหตุบ้านการเมือง ร้านกาแฟจึงเป็นเสมือนสิ่งเสพติดที่ผู้คนในชุมชนต้องมาพบกันเป็นประจำทุกเช้าอย่างขาดเสียมิได้ แม้ในทุกวันนี้ร้านกาแฟก็ยังเป็นจุดนัดพบของชุมชน




   ร้านพับเหล็ก กับงานปั้น 




 ติ้ว เครื่องมือนับจำนวนกระสอบข้าวสารสำหรับจับกัง หรือกรรมกรแ ปัจจุบันตลาดคลองสวน 100 ปี โดยความดูแลของสำนักงานเทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสำนักงานเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้สนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์บ้านเรือน รวมทั้งการดำเนินชีวิตให้คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และส่งเสริมให้ตลาดคลองสวน เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้ดูวิถีชีวิต รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ยังมีกลิ่นอายในรัชสมัยรัชกาลที่ 5




   เครื่องจักรสานสำหรับดักปลา เครื่องมือดักจับปลาชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ 
ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ปฏิทิน